ขั้นตอนการผลิตไวร์เมช และขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ในการทำ


ขั้นตอนการผลิตไวร์เมช และขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ในการทำ

หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ ขั้นตอนการผลิตตะแกรงไวร์เมช (wiremesh) วันนี้เราจะมาบอกกันว่าขั้นตอนการผลิตและการเตรียมพื้นที่นั้นต้องทำอย่างไร

1. ขั้นตอนการเลือกเหล็กเส้น


คัดเลือกเหล็กเส้นสำหรับทำ ไวร์เมช คือ เหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้นข้ออ้อย ขนาดตั้งแต่ 3 มม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานในรูปแบบนั้นๆ

2. ขั้นตอนการผลิตเหล็กไวร์เมช ด้วยเครื่อง อาร์คไวร์เมช


นำเข้าเครื่องผลิต ในขั้นตอนนี้จะใช้การอาร์คติดเส้นลวด ให้ติดกันเป็น ตะแกรงไวร์เมช ขนาดช่องตาห่าง เช่น 20 x 20, 25 x 25 เป็นต้น

3. ขั้นตอนการผลิตเสร็จสมบูรณ์


ได้ไวร์เมช ที่เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย และพร้อมใช้งาน


4. ขั้นตอนการเก็บรักษา ไวร์เมช


ขั้นตอนการเก็บรักษา ในที่นี้ จะเก็บไว้ใน โกดัง สถานที่กัน ฝน และความชื้น

5. ขั้นตอนการการบรรจุ และ แพคไวร์เมช


อาจจะแยกเป็น แผง หรือ ม้วน เพื่อสะดวกในการขนส่งและใช้ในหน้างาน

6. ขั้นตอน การจัดส่ง


มีการขนส่งทั้ง ทางบก และทางน้ำ เช่น รถเทเลอร์ ตู้คอนเทรนเนอร์ เป็นต้น



ขั้นตอนการเตรียมพื้นเพื่อเทคอนกรีต


1. ปรับระดับดินเดิมให้มีผิวหน้าเรียบ ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ โดยจะต้องลดระดับหน้าดินเผื่อความหนาของทรายและคอนกรีตที่กำลังจะเทด้วย

2. ทำการกั้นไม้แบบโดยวางแนวของเส้นถนน ในขอบเขตความกว้างยาวตามที่แบบกำหนดไว้ ทั้งนี้ความยาวของถนนในแต่ละช่วงไม่ควรเกินกว่า 6 เมตร เพราะการยืดหดขยายตัวของถนนอาจทำให้เกิดรอยร้าวได้

3. เมื่อปรับผิวหน้าเรียบร้อยแล้ว ให้เททรายจนได้ระดับ หนา 5 cm บดอัดหรือทุบให้แน่น

ขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีต


1. ต้องมีการเสริมตะแกรงไวร์เมช (wiremesh) ขนาด 6 mm @15cm ไว้ในเนื้อคอนกรีตด้วย ซึ่งตามหลักแล้ว ตะแกรงไวร์เมช (wiremesh) นี้จะต้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าผิวคอนกรีต (เมื่อเสร็จสิ้น) ประมาณ 5 cm เพื่อกันรอยร้าวที่ผิวคอนกรีต

2. โดยทั่วไปจะใช้วิธีเทคอนกรีตลงไปให้ต่ำกว่าระดับที่ต้องการแล้วเกลี่ยให้ ทั่ว จากนั้นวางตะแกรงไวร์เมช (wiremesh) ก่อนจะเททับอีกรอบให้ได้ตามระดับตามกำหนด หรือ อาจเลือกใช้อีกวิธีหนึ่ง คือ เริ่มต้นด้วยการเสริมลูกปูนก่อนจะวางตะแกรงไวร์เมช (wiremesh) ทับ แล้วเทคอนกรีตให้ทั่วพื้นที่จนได้ระดับตามต้องการ วิธีนี้สะดวกตรงที่การเทคอนกรีตสามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว

3. หลังจากเทคอนกรีตลงไปแล้ว ให้ทำการปรับแต่งผิวหน้าให้เรียบร้อย โดยสามารถใช้ท่อปรับผิวหน้าคอนกรีตเพื่อการตกแต่งผิวที่เรียบเนียน ในขั้นตอนนี้นอกจากการปรับแต่งผิวหน้าของคอนกรีตแล้ว อาจมีการตกแต่งเพิ่มเติม เช่น การกรีดผิวหน้าเป็นลายเพื่อกันลื่น การประดับพื้นผิวด้วยการปูกระเบื้อง หรือแม้กระทั่งการทำคอนกรีตพิมพ์ลายเพื่อความสวยงาม

4. เมื่อทิ้งไว้จนผิวคอนกรีตเริ่มแข็งตัว ควรบ่มพื้นถนนคอนกรีตโดยฉีดน้ำให้ชุ่มทุกวันติดต่อกัน 7 วัน เพื่อ ให้คอนกรีตมีความคงทนแข็งแกร่งเต็มที่ ขั้นตอนนี้นับว่าจำเป็นมากเพราะหากไม่บ่มคอนกรีตหรือบ่มในระยะเวลาไม่เหมาะ สม จะทำให้คอนกรีตมีประสิทธิภาพในการรับแรงที่ต่ำกว่าที่ควร ทั้งยังอาจทำให้สารต่างๆ ซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต ส่งผลให้เหล็กเสริมเป็นสนิมง่าย จนทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวเสียหายได้ในที่สุด

5. ขั้นตอนสุดท้าย หลังจากที่เนื้อคอนกรีตแห้งแข็งตัวอย่างสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการกรีดร่องตามตำแหน่งรอยต่อคอนกรีต กว้าง 1 cm ลึก 1.5 cm แล้วหยดยางมะตอยระหว่างช่อง เพื่อกันไม่ให้น้ำซึมลงไปในร่องรอยต่อหรือรอยร้าว เป็นการป้องกันดินทรุด

ความคิดเห็น